เว็บไซต์นี้อัพเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อ มีนาคม 2566 สามารถดูเวอร์ชันอัพเดตได้ที่ https://parliamentwatch.wevis.info/
THEY WORK FOR US

ใครคือผู้แทนของเรา

ค้นหา ตรวจสอบ โปร่งใส

อัพเดตข้อมูล: มีนาคม 2566

ค้นหา ส.ส. เขตบ้านเรา

แขวง/ตำบล

ค้นประวัติบุคคล

รู้หน้า รู้ชื่อ แต่ไม่รู้จัก ลองค้นหาประวัติผู้แทนในสภาของเรากันดู

ดูภาพรวมพรรคการเมือง

ใครอยู่ทีมไหน เห็นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ลองดูภาพรวมของแต่กลุ่ม

สรุปการลงคะแนนเสียง

ใครหนุน ใครค้าน ดูการโหวตครั้งสำคัญในสภา พร้อมอธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ

สัดส่วนผู้แทนของเรา พวกเขาเป็นใครบ้าง

0.00% ของผู้แทนทั้งหมด

สรุปผลการลงมติล่าสุด

7% เห็นด้วย

ลงมติกรณี ส.ส. มีมติให้รัฐสภาส่งเรื่องที่ควรออกเสียงประชามติให้ ครม. ดำเนินการ

ไม่ผ่าน
เห็นด้วย 12
ไม่เห็นด้วย 157
งดออกเสียง 13
ไม่ลงคะแนน 1
21.2.2023

0% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (วาระ 3)

ร่าง พ.ร.บ. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีสาระสำคัญคือ การแยกสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (บัณฑิตวิทยาลัย) ออกจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ไปสังกัดมูลนิธิจุฬาภรณ์ ทำให้สถานะเปลี่ยนไปจากสถาบันอุดมศึกษาในกำกับดูแลของภาครัฐไปเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เพื่อให้สามารถปฎิบัติงานร่วมกับสถาบันวิจัยของมูลนิธิจุฬาภรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คล่องตัวและมีความเป็นอิสระทางวิชาการและการบริหารงาน

ผ่าน
เห็นด้วย 0
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 0
ไม่ลงคะแนน 0
9.2.2023

99% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม (วาระ 1)

ร่าง พ.ร.บ. เวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม เป็นร่าง พ.ร.บ.ที่ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 มาตรา 270 ด้านกระบวนการยุติธรรม โดยให้มีการกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า สมควรที่จะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดระยะเวลาดำเนินการในกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบว่าหน่วยงานจะพิจารณาเรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานเสร็จสิ้นเมื่อใด รวมทั้งตรวจสอบความคืบหน้าที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการได้รับความยุติธรรมโดยสะดวกและรวดเร็ว โดยมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวก โดยกำหนดให้มีการจัดระบบติดตาม ตรวจสอบ แจ้งความคืบหน้า เพื่อให้ได้รับทราบผ่านทางระบบเทคโนโลยีด้วย มีการกำหนดกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จในการพิจารณาตามขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินคดี กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ เพื่อรับเรื่องร้องเรียนกรณีได้รับความล่าช้า และมีการกำหนดให้เก็บข้อมูลสถิติระยะเวลาดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน เพื่อวัดผลเทียบกับขั้นตอนตามกรอบระยะเวลา พร้อมทั้งเผยแพร่ให้ประชาชนทราบทุกปี และให้มีมาตรการเพื่อพัฒนา ปรับปรุงหน่วยงานหรือระบบการปฏิบัติราชการอย่างน้อยทุก 3 ปี

ผ่าน
เห็นด้วย 607
ไม่เห็นด้วย 1
งดออกเสียง 1
ไม่ลงคะแนน 3
8.2.2023

99% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย (วาระ 1)

ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย เป็นร่างกฎหมายกำหนดมาตรการที่สร้างขึ้นใหม่ เรียกว่า “ปรับเป็นพินัย” เพื่อใช้แทนโทษทางอาญา โดยกำหนดหลักเกณฑ์ให้ใช้ดุลยพินิจกำหนดค่าปรับที่ต้องชำระ ให้เหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระทำประกอบกับฐานะทางเศรษฐกิจของผู้กระทำความผิด กรณีที่ผู้กระทำความผิดไม่มีเงินชำระค่าปรับ อาจขอทำงานบริการสังคมหรืองานสาธารณประโยชน์แทนชำระค่าปรับได้ แม้ปลายทางแล้วผู้กระทำความผิดยังคงต้องจ่ายเงินชำระค่าปรับ แต่เมื่อไม่ใช่โทษทางอาญา การจำคุกหรือกักขังแทนค่าปรับก็จะไม่ถูกนำมาใช้ อีกทั้งไม่มีการบันทึกลงในประวัติอาชญากรรมที่จะทำให้ประชาชนเสื่อมเสียประวัติโดยใช่เหตุ ทั้งนี้ การปรับเป็นพินัยจะใช้กับความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียว ตามบรรดากฎหมายที่อยู่ในบัญชีท้ายร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการปรับเป็นพินัยเท่านั้น

ผ่าน
เห็นด้วย 543
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 3
ไม่ลงคะแนน 3
8.2.2023

0% เห็นด้วย

ให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ไม่ผ่าน
เห็นด้วย 0
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 0
ไม่ลงคะแนน 0
26.12.2022

40% เห็นด้วย

แก้ รธน. ปลดล็อคท้องถิ่น (คณะก้าวหน้า) (วาระ 1)

ร่างแก้รัฐธรรมนูญ "ปลดล็อคท้องถิ่น" เป็นข้อเสนอของคณะก้าวหน้า ที่เสนอโดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้ากับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 76,591 คน ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ เสนอให้เขียนหมวดการปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นใหม่ จากเดิมที่มีความยาวเพียงสองหน้า จำนวนหกมาตรา เป็นหมวดที่เขียนลงรายละเอียดมากขึ้นยาวหกหน้า 12 มาตรา ยังคงไว้ซึ่งองค์กรส่วนท้องถิ่นชื่อเดิม ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) รวมทั้งองค์กรท้องถิ่นรูปแบบพิเศษทั้งกรุงเทพมหานคร และพัทยา โดยหลักการสำคัญของร่างปลดล็อกท้องถิ่นต้องการวางเจตนารมณ์แห่งการปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้มแข็งว่า “รัฐต้องจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแบบกระจายอำนาจ และต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่น” คือ กำหนดให้ท้องถิ่นมีอำนาจทำบริการสาธารณะทุกเรื่องยกเว้นเรื่องความมั่นคง ให้ท้องถิ่นได้รับการจัดสรรงบประมาณร้อยละ 50 จากรายได้ทั้งหมดของรัฐภายในสามปี ให้สภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น ห้ามส่วนกลางก้าวก่ายท้องถิ่น และการเพิกถอนคำสั่งต้องไปร้องศาลปกครอง ให้สิทธิประชาชนสามารถเข้าชื่อกันเพื่อถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่นได้

ไม่ผ่าน
เห็นด้วย 254
ไม่เห็นด้วย 245
งดออกเสียง 129
ไม่ลงคะแนน 0
7.12.2022
ดูทั้งหมด

สำรวจตามชนิดและสังกัดผู้แทน

คณะรัฐมนตรี

34 คน

สมาชิกวุฒิสภา

249 คน

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ดู ส.ส. ทั้งหมด