0% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ. แก้ไข ป.วิอาญาฯ (ส่งไป ครม.)
คล้ายกับร่างของประชาชน โดยส.ส. พรรคอนาคตใหม่เสนอ โดยมองว่าหลังจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 คสช. โดยพลเอกประยุทธ์ ได้อ้างใช้อำนาจพิเศษจากมาตรา 44 แม้จะหมดสถานะคำสั่ง ประกาศต่างๆยังได้รับรองโดยมาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560 ให้มีผลบังคับใช้ต่อไป จนกว่าจะมีการยกเลิกหรือแก้ไข และหลายฉบับมีเนื้อหาจำกัดสิทธิประชาชน
99% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย (วาระ 1)
ร่าง พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย เป ็นแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย เกี่ยวกับเรื่องการทิ้งขยะในทะเล เนื่องจากไทยมีนโยบายเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ค.ศ. 1973 ว่าด้วยกฎข้อบังคับสำหรับป้องกันมลพิษจากขยะบนเรือ เพื่อควบคุมไม่ให้มีการทิ้งขยะจากเรือหรือแท่นที่เป็นสิ่งก่อสร้างในทะเลที่ติดอยู่กับเรือ หรือที่ลอยน้ำได้ให้เป็นไปตามข้อกำหนดและมาตรฐานที่อนุสัญญากำหนด และสอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 เกี่ยวกับการป้องกัน ลด และควบคุมมลพิษของสิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งกฎหมายไทยยังไม่ครอบคลุม จึงต้องแก้ไขกฎหมายเดิม โดยเพิ่มมาตรการตามมาตรฐานสากลและพันธกรณีของอนุสัญญาดังกล่าว
19% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ (วาระ 1)
ร่าง พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ มีสาระสำคัญคือ ให้ยกเลิกมาตรา 45 พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561 ที่บัญญัติให้ ครม.มีอำนาจจ่ายเงินทุนสำรองจ่ายจำนวน 50,000 ล้านบาท จากคลังเพื่อนำไปใช้ในกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วน ซึ่งไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 มาตรา 141
เนื่องจากหลักการทางกฎหมายมาตรา 141 กำหนดว่า การนำงบประมาณแผ่นดินไปใช้ ต้องเสนอสภาผู้แทนราษฎร และหากมีการตั้งเงินทุนสำรองจ่ายเพิ่มอีก เป็นเสมือนการเอางบประมาณแผ่นดินไปใช้งายๆ โดยไม่มีการตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินที่เป็นเงินภาษีของประชาชน จึงควรให้สภาผู้แทนราษฎรได้ตรวจสอบและให้ความเห็นชอบในการนำงบประมาณแผ่นดินไปใช้ และที่ผ่านมาในรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการใช้งบประมาณอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
27% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ. สหกรณ์ (วาระ 1)
ร่าง พ.ร.บ.สหกรณ์ มาจากการเข้าชื่อเสนอโดย พลโท วีระ วงศ์สรรค์ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 11,808 คน เนื่องจาก พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2542 ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานาน ไม่เหมาะสมกับปัจจุบัน ไม่เอื้อต่อการส่งเสริม พัฒนา และคุ้มครองระบบสหกรณ์ที่มีหลักการในการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างสมาชิกและสหกรณ์ด้วยกัน (ผลการลงมติวาระที่ 1 ทีประชุมมีมติไม่รับหลักการ)
มีการเสนอแก้ไขนิยามชุมนุมสหกรณ์และสมาชิกสมทบ หมายถึง สหกรณ์ตั้งแต่ห้าสหกรณ์ขึ้นไปประสงค์จะร่วมกันดำเนินกิจการ และสมาชิกสมทบ ให้หมายถึง บุคคลธรรมดาที่บรรลุนิติภาวะแต่ขาดคุณสมบัติในการเป็นสมาชิกสหกรณ์ และบุคคลธรรมดาซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ เพิ่มอำนาจหน้าที่ให้คณะกรรมการพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติ สนับสนุนและสร้างเสถียรภาพระบบสหกรณ์และดำรงเงินกองทุนอื่นๆ ให้แก่ระบบสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ สามารถตั้งคณะอนุกรรมการต่างๆ ได้ เพิ่มเติมให้สมาชิกสหกรณ์มีส่วนร่วมเป็นกรรมการเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องและปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการดำเนินการในสหกรณ์นั้น ๆ เพิ่มเติมประเภทสหกรณ์ ลักษณะ วัตถุประสงค์และขอบเขตการดำเนินกิจการสหกรณ์แต่ละประเภท เพิ่มเติมการจัดตั้งชุมนุมสหกรณ์ระดับจังหวัด ภูมิภาค ระดับประเทศ และอำนาจกระทำการของชุมนุมสหกรณ์ระดับต่างๆ
0% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ. สถาปนิก (วาระ 1)
ร่าง พ.ร.บ.สถาปนิก พ.ศ.2543 เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.สถาปนิก พ.ศ.2543 เนื่องจากต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศด้านการบริการสาขาสถาปัตยกรรม โดยกำหนดให้สถาปนิกต่างชาติซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามความตกลงระหว่างประเทศ สามารถเข้ามาประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมในประเทศไทยและให้ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาสถาปนิกสามารถขึ้นทะเบียนเพื่อประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมในประเทศภาคีความตกลงระหว่างประเทศได้ ซึ่งกฎหมายว่าด้วยสถาปนิกฉบับที่ใช้บังคับอยู่ยังไม่รับรองการดำเนินการตามความตกลงระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี และที่อาจมีขึ้นในอนาคต รวมถึงแก้ไขบทบัญญัติอื่นให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ได้แก่ วัตถุประสงค์ของสภาสถาปนิก การกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และมาตรการทางจรรยาบรรณของสถาปนิกต่างชาติและสถาปนิกขึ้นทะเบียน และกำหนดให้สมาชิกสภาสถาปนิกทุกคนต้องประพฤติตามจรรยาบรรณวิชาชีพและตามระเบียบของคณะกรรมการ เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและความเที่ยงตรงต่อวิชาชีพ
0% เห็นด้วย
ตั้ง กมธ. วิสามัญ Enterrainment Complex
ตั้ง กมธ. วิสามัญ Enterrainment Complex คือ การศึกษา Entertainment Complex หรือ สถานที่รวบรวมบริการต่างๆ ให้อยู่ในสถานที่เดียวกัน ได้แก่ กาสิโน ร้านค้า สนามกอล์ฟ ธุรกิจบันเทิงต่างๆ
ปัจจุบันรายได้ของประเทศจากการเก็บภาษีจากประชาชนไม่เพียงพอที่จะทำประโยชน์ให้กับประชาชนอย่างเต็มที่ และรัฐบาลต้องแบกภาระหนี้ทุกปี การมีสถานบันเทิงแบบครบวงจร (Entertainment Complex)จะเป็นการหาแหล่งรายได้ใหม่จากกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ โดยที่ไม่ต้องลงทุนจากภาครัฐ จะสามารถสร้างรายได้แก่ประเทศปีละ 4 ล้านล้านบาท จากการที่ประเทศไทยมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว มีนักธุรกิจชาวไทยและต่างประเทศมีความพร้อมในการลงทุนและมีประสบการณ์ในการเปิดสถานบันเทิงแบบครบวงจรระดับโลก เช่น กาสิโน สวนสนุก (Ferrari World) สนามแข่งรถ Formula One อันจะนำมาสู่การจ้างงานและเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ