เว็บไซต์นี้อัพเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อ มีนาคม 2566 สามารถดูเวอร์ชันอัพเดตได้ที่ https://parliamentwatch.wevis.info/
THEY WORK FOR US

บันทึกการประชุมและการลงมติ

นับตั้งแต่เปิดประชุมสภาหลังการเลือกตั้ง มีการประชุมสภามาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ละครั้งก็มีหลายวาระ และใช้ระยะเวลาในการประชุมยาวนาน จนบางทีเราก็ตามไม่ทันว่ามีการลงมติครั้งสำคัญเกิดขึ้นในการประชุมครั้งไหนในสภาบ้าง? ใครยกมือสนับสนุนหรือคัดค้านมติไหน? เราจึงรวบรวบการลงมติครั้งสำคัญมาให้ พร้อมอธิบายสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ว่าสิ่งที่ผู้แทนแต่ละคนสนับสนุนหรือคัดค้านคืออะไร

สรุปผลการลงมติล่าสุด

100% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ.เครื่องสำอาง (วาระ 1)

ร่าง พ.ร.บ.เครื่องสำอาง (การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง) มีหลักการสำคัญ คือ การแก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 โดยเพิ่มนิยามคำว่า "กระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง" (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 4) และกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นบัญชีอัตราขึ้นบัญชีสูงสุด และค่าขึ้นบัญชีที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุด ประเภทและค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอ รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในกระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง เพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง (ร่างมาตรา 4 เพิ่มมาตรา 6 (12/1) (12/2)) และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาเครื่องสำอาง และกำหนดอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขค่าขึ้นบัญญีและค่าใช้จายที่จะจัดเก็บและหลักเกณฑ์ในการรับเงินและจ่ายเงินดังกล่าวในกระบวนการพิจารณาเครื่องสำอางตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 21 และเพิ่มมาตรา 21/1 มาตรา 21/2 และมาตรา 21/3) และการกำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับประกาศที่ออกตาม คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 77/2559 เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ ให้นำมาใช้แก่กระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง ตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ฉบับนี้ จนกว่าจะมีการออกประกาศที่ออกตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.นี้

ผ่าน
เห็นด้วย 319
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 1
ไม่ลงคะแนน 0
24.11.2021

99% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด (วาระ 1)

ร่าง พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 ตามที่ มาตรา 77 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 บัญญัติให้ปรับปรุงกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์หรือที่เป็นอุปสรรค ประกอบกับ พ.ร.บ.ฉบับปี 2535 ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ยังไม่รองรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของเทคโนโลยี จึงแก้ไขเพิ่มเติม โดยกำหนดใหเบริษัทมหาชนจำกัด สามารถใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในการประชุมคณะกรรมการและการประชุมผู้ถือหุ้น การจัดส่งหนังสือ หรือเอกสาร การมอบฉันทะในการประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นการลดภาระและอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการของบริษัทมหาชนจำกัดและประชาชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ผ่าน
เห็นด้วย 291
ไม่เห็นด้วย 1
งดออกเสียง 1
ไม่ลงคะแนน 2
24.11.2021

99% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. อาหาร (วาระ 1)

ร่าง พ.ร.บ.เครื่องสำอาง (การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง) มีหลักการสำคัญ คือ การแก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 โดยเพิ่มนิยามคำว่า "กระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง" (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 4) และกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นบัญชีอัตราขึ้นบัญชีสูงสุด และค่าขึ้นบัญชีที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุด ประเภทและค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอ รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในกระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง เพื่อให้สอดคล้องกับการเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง (ร่างมาตรา 4 เพิ่มมาตรา 6 (12/1) (12/2)) และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาเครื่องสำอาง และกำหนดอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขค่าขึ้นบัญญีและค่าใช้จายที่จะจัดเก็บและหลักเกณฑ์ในการรับเงินและจ่ายเงินดังกล่าวในกระบวนการพิจารณาเครื่องสำอางตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 21 และเพิ่มมาตรา 21/1 มาตรา 21/2 และมาตรา 21/3) และการกำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับประกาศที่ออกตาม คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 77/2559 เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ ให้นำมาใช้แก่กระบวนการพิจารณาเครื่องสำอาง ตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ฉบับนี้ จนกว่าจะมีการออกประกาศที่ออกตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.นี้

ผ่าน
เห็นด้วย 312
ไม่เห็นด้วย 1
งดออกเสียง 1
ไม่ลงคะแนน 1
24.11.2021

99% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. ฟอกเงิน (วาระ 1)

ร่าง พ.ร.บ.อาหาร เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 เนื่องจากกฎหมายฉบับเก่าเป็นข้อจำกัดในการควบคุมความปลอดภัยอาหารและการโฆษณาอาหาร จึงแก้ไขเพิ่มเติมมาตรการควบคุมอาหาร โดยกำหนดควบคุมอาหารตามระดับความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือผลกระทบต่อผู้บริโภค และหลักเกณฑ์การดำเนินการเกี่ยวกับการพิจารณาอาหารและวิธีการ เงื่อนไขในการโฆษณาอาหาร และกำหนดให้มีผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ทำหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาอนุญาตอาหารเพื่อให้กลไกการพิจารณาอนุญาตมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ รวมทั้งแก้ไขบทกำหนดโทษและอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน

ผ่าน
เห็นด้วย 283
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 1
ไม่ลงคะแนน 1
17.11.2021

34% เห็นด้วย

แก้ รธน. ฉบับประชาชน (Resolution) (วาระ 1)

ร่างแก้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนของกลุ่ม Re-Solution มีสาระสำคัญ คือ การเสนอให้ “ยกเลิกวุฒิสภา” เปลี่ยนมาใช้เป็นระบบ “สภาเดี่ยว” ที่เหลือแต่สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น การกำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. การยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี และแผนปฏิรูปประเทศของ คสช. การ “รื้อ” ที่มาองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งหมด รวมทั้งออกแบบกลไกใหม่ที่หวังจะป้องกันไม่ให้การรัฐประหารเกิดขึ้นได้อีก

ไม่ผ่าน
เห็นด้วย 212
ไม่เห็นด้วย 403
งดออกเสียง 5
ไม่ลงคะแนน 0
17.11.2021

96% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองพยานฯ (วาระ 3)

เพราะการคุ้มครองพยานในคดีอาญา เป็นกระบวนการที่สนับสนุนงานยุติธรรม โดนพยานบุคคลมีความสำคัญต่อการหาคนผิดมาลงโทษ เพื่อให้ศาลได้ใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาคดีได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติรับรองสิทธิบุคคลซึ่งเป็นพยานในคดีอาญาให้มีสิทธิได้รับความคุ้มครองความปลอดภัย การปฏิบัติที่เหมาะสม และค่าตอบแทนที่จำเป็นตามสมควรจากรัฐ

ผ่าน
เห็นด้วย 277
ไม่เห็นด้วย 9
งดออกเสียง 3
ไม่ลงคะแนน 1
10.11.2021
<12345678910111213141516171819202122232425262728293031323334>