เว็บไซต์นี้อัพเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อ มีนาคม 2566 สามารถดูเวอร์ชันอัพเดตได้ที่ https://parliamentwatch.wevis.info/
THEY WORK FOR US

บันทึกการประชุมและการลงมติ

นับตั้งแต่เปิดประชุมสภาหลังการเลือกตั้ง มีการประชุมสภามาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ละครั้งก็มีหลายวาระ และใช้ระยะเวลาในการประชุมยาวนาน จนบางทีเราก็ตามไม่ทันว่ามีการลงมติครั้งสำคัญเกิดขึ้นในการประชุมครั้งไหนในสภาบ้าง? ใครยกมือสนับสนุนหรือคัดค้านมติไหน? เราจึงรวบรวบการลงมติครั้งสำคัญมาให้ พร้อมอธิบายสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ว่าสิ่งที่ผู้แทนแต่ละคนสนับสนุนหรือคัดค้านคืออะไร

สรุปผลการลงมติล่าสุด

59% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ 2564 (วาระ 3)

ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ 2564 มีวงเงินงบประมาณ 3.3 ล้านบาท โดยกระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ งบกลาง จำนวน 614,616 ล้านบาท กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 358,361 ล้านบาท กระทรวงมหาดไทย จำนวน 328,013 ล้านบาท กระทรวงการคลัง 268,719 ล้านบาท และกระทรวงกลาโหม 223,464 ล้าบาท โดยกระทรวงที่ของบประมาณเพิ่มจากปีที่แล้วสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ กระทรวงการคลัง ขอเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 19,517 ล้านบาท กระทรวงคมนาคม เพิ่มขึ้น 17,459 ล้านบาท กระทรวงมหาดไทย เพิ่มขึ้น 13,352 ล้านบาท กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพิ่มขึ้น 4,805 ล้านบาท และกระทรวงสาธารณสุข เพิ่มขึ้น 3,585 ล้านบาท

ผ่าน
เห็นด้วย 269
ไม่เห็นด้วย 60
งดออกเสียง 121
ไม่ลงคะแนน 6
18.9.2020

99% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดียาเสพติด (วาระ 1)

ร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด มีสาระสำคัญคือการกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เช่น อำนาจในการตรวจค้นเคหะสถานหรือสถานที่ใดๆ อำนาจในการตรวจค้นบุคคลหรือพาหนะ และยังมีอำนาจในการสอบสวน ออกหมายเรียก อำนาจจับกุม ตรวจสอบทรัพย์สิน และยึดอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด

ผ่าน
เห็นด้วย 577
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 2
ไม่ลงคะแนน 4
1.9.2020

91% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. เข้าชื่อเสนอกฎหมาย (วาระ 1)

ร่าง พ.ร.บ.การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เป็นร่างกฎหมายที่ถูกเสนอมาในฐานะ “กฎหมายปฏิรูป” หรือ ร่างกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 โดยกำหนดให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่ในการช่วยทำร่างกฎหมายและเอกสารประกอบ รวมถึงทำหน้าที่ในการเปิดรับเอกสารหลักฐานการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย และมีหน้าที่เปิดรับความเห็นและทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายที่ประชาชนเสนอ ทั้งนี้ ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวได้กำหนดให้สามารถเข้าชื่อผ่านระบบออนไลน์ได้ และยังเพิ่มอำนาจนายกรัฐมนตรีในการปัดตกกฎหมาย โดยระบุให้นายกรัฐมนตรีจะต้องพิจารณาให้คำรับรองกฎหมายในกรณีที่ร่างกฎหมายมีความเกี่ยวข้องกับการเงินภายใน 90 วัน นับตั้งแต่ได้รับมาพิจารณา หากไม่ให้คำรับรองใน 90 วัน ให้ยุติการเสนอร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว

ผ่าน
เห็นด้วย 504
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 49
ไม่ลงคะแนน 3
4.8.2020

91% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (วาระ 1)

"ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม กำหนดให้สำนักนายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรที่ดินของประเทศ และจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินให้เป็นส่วนราชการระดับกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ ให้โอนอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย และบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ รวมถึงกำลังพลของกองแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกองบริหารจัดการที่ดิน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เฉพาะส่วนที่ไม่เกี่ยวกับคณะกรรมการจัดที่ดินไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ และให้โอนอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย และบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ รวมถึงกำลังพลของกองบริหารจัดการที่ดิน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เฉพาะส่วนที่ไม่เกี่ยวกับคณะกรรมการจัดที่ดินไปเป็นของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย"

ผ่าน
เห็นด้วย 568
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 52
ไม่ลงคะแนน 1
4.8.2020

99% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. ชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (วาระ 1)

ร่าง พ.ร.บ. ชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล เป็นแก้ไขเเรื่องกรอบระยะเวลาของกระบวนการโต้แย้งเขตอำนาจศาลสำหรับการฟ้องคดีต่อศาลปกครองหรือศาลอื่นที่ไม่ใช่ศาลยุติธรรมและศาลทหาร โดยให้ยื่นคำคำร้องต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การหรือก่อนพ้นระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ยื่นคำให้การ อีกทั้ง ยังกำหนดให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลต้องพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจระหว่างศาลให้เสร็จภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดมีมติรับเรื่อง

ผ่าน
เห็นด้วย 382
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 2
ไม่ลงคะแนน 0
29.7.2020

90% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. แก้ไข ป.วิแพ่งฯ (ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดี) (วาระ 3)

ร่าง พ.ร.บ. แก้ไข ป.วิแพ่งฯ (ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดี) เป็นร่างกฎหมายที่ถูกเสนอมาในฐานะ “กฎหมายปฏิรูป” หรือ ร่างกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพากก่อนฟ้องคดี เช่น ก่อนการฟ้องคดี คู่กรณีสามารถเลือกวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนได้ด้วยการตั้ง ‘ผู้ประนีประนอม’ ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีได้ตกลงหรือยอมความกัน และให้ศาลเข้ามาตรวจสอบข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมว่าเป็นไปตามเจตนาของคู่กรณีหรือไม่ก่อนที่คู่กรณีจะลงลายมือชื่อในข้อตกลง นอกจากนี้ ยังให้คู่กรณีร้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามยอมได้ แต่ให้ศาลมีดุลพินิจว่า มีความจำเป็นที่ศาลสมควรจะมีคำพิพากษาตามยอมในเวลานั้นหรือไม่

ผ่าน
เห็นด้วย 513
ไม่เห็นด้วย 51
งดออกเสียง 5
ไม่ลงคะแนน 0
24.7.2020
<12345678910111213141516171819202122232425262728293031323334>