เว็บไซต์นี้อัพเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อ มีนาคม 2566 สามารถดูเวอร์ชันอัพเดตได้ที่ https://parliamentwatch.wevis.info/
THEY WORK FOR US

บันทึกการประชุมและการลงมติ

นับตั้งแต่เปิดประชุมสภาหลังการเลือกตั้ง มีการประชุมสภามาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ละครั้งก็มีหลายวาระ และใช้ระยะเวลาในการประชุมยาวนาน จนบางทีเราก็ตามไม่ทันว่ามีการลงมติครั้งสำคัญเกิดขึ้นในการประชุมครั้งไหนในสภาบ้าง? ใครยกมือสนับสนุนหรือคัดค้านมติไหน? เราจึงรวบรวบการลงมติครั้งสำคัญมาให้ พร้อมอธิบายสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ว่าสิ่งที่ผู้แทนแต่ละคนสนับสนุนหรือคัดค้านคืออะไร

สรุปผลการลงมติล่าสุด

84% เห็นด้วย

อนุมัติ พ.ร.ก. โอนกำลังพลฯ

ร่าง พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณฯ เป็นการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีในการตรากฎหมาย โดยสาระสำคัญ คือ ให้กำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ ก่อนการอนุมัติ พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว มีการตั้งคำถามโดย ปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ว่า เป็นการตรา พ.ร.ก.ที่เป็นไปตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากเห็นว่า ไม่ใช่กรณีจำเป็นเร่งด่วน และสมควรที่รัฐบาลจะเสนอเป็นพระราชบัญญัติให้สภาเป็นผู้พิจารณาในรายละเอียดก่อนบังคับใช้เป็นกฎหมาย

ผ่าน
เห็นด้วย 374
ไม่เห็นด้วย 70
งดออกเสียง 2
ไม่ลงคะแนน 0
19.10.2019

52% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณฯ 2563 (วาระ 1)

ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณฯ 2563 มีการตั้งวงเงินงบประมาณไว้ที่ 3.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 2 แสนล้านบาท โดยห้ากระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบมากที่สุด คือ กระทรวงศึกษาธิการ มีงบประมาณ กว่า 3.6 แสนล้านบาท ถัดมา คือ กระทรวงมหาดไทย งบประมาณกว่า 3.5 แสนล้านบาท ถัดมาเป็นกระทรวงกลาโหม มีงบประมาณที่ต้องบริหารกว่า 2.3 แสนล้านบาท และกระทรวงคมนาคม มีงบประมาณทั้งสิ้น กว่า 1.78 แสนล้านบาท สุดท้ายคือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ งบประมาณ กว่า 1.09 แสนล้านบาท

ผ่าน
เห็นด้วย 251
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 234
ไม่ลงคะแนน 1
19.10.2019

100% เห็นด้วย

ตั้ง กมธ.ศึกษาปัญหาสารเคมีเกษตรฯ

ญัตติตั้ง กมธ.ศึกษาปัญหาสารเคมีเกษตรฯ สืบเนื่องมาจากปัญหาการใช้สารเคมีในภาคการเกษตร เช่น พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ซึ่งมีรายงานการศึกษาว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนไทยจึงเสนอให้ตั้งคณะกรรมธิการวิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีดังกล่าว โดยสภามีมติเห็นชอบกับญัตติดังกล่าวและมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 44 คน ประกอบไปด้วยสัดส่วนจากพรรคการเมืองฝ่ายค้านและรัฐบาลรวมกัน จำนวน 39 คน และสัดส่วนจากคณะรัฐมนตรี จำนวน 5 คน และมีระยะเวลาพิจารณาศึกษาเป็นเวลา 60 วัน

ผ่าน
เห็นด้วย 400
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 0
ไม่ลงคะแนน 0
13.9.2019

90% เห็นด้วย

เห็นชอบรายงานขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้าบีทีเอส

ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอตามรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ที่เห็นควรให้ขยายสัมปทานทางด่วน เพื่อยุติข้อพิพาทระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้าจำกัด (มหาชน) (BEM) และไม่ขยายสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวของบีทีเอส ที่จะสิ้นสุดในปี 2572 ซึ่งเมื่อผ่านการลงมติจากสภาผู้แทนราษฎรแล้วก็จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้นำไปปฏิบัติต่อไป

ผ่าน
เห็นด้วย 412
ไม่เห็นด้วย 25
งดออกเสียง 20
ไม่ลงคะแนน 0
5.9.2019

98% เห็นด้วย

เลือก กมธ. ตรวจสอบประวัติตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฯ

การเลือก กมธ. ตรวจสอบประวัติตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฯ เป็นขั้นตอนก่อนที่วุฒิสภาจะพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าวมีหน้าที่ตรวจสอบประวัติความประพฤติและพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อโดยคณะกรรมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 5 รายชื่อ ได้แก่ วิรุฬห์ แสงเทียน ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา, จิรนิติ หะวานนท์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา, อุดม สิทธิวิรัชธรรม ประธานแผนกคดีฯ ในศาลฎีกา, ชั่งทอง โอภาสศิริวิทย์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด และ นภดล เทพพิทักษ์ อดีตอธิบดีกรมเอเชียใต้ฯ

ผ่าน
เห็นด้วย 220
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 5
ไม่ลงคะแนน 0
2.9.2019

21% เห็นด้วย

ตั้ง กมธ. ผู้มีความหลากหลายทางเพศ

การตั้ง กมธ. ผู้มีความหลากหลายทางเพศ เป็นการแปรญัตติร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อที่ 90 ของ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ และ ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากเดิมร่างข้อบังคับกำหนดให้มีคณะกรรมาธิการสามัญ ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา จำนวนทั้งสิ้น 35 คณะ แต่มีการเสนอใหม่ ให้เพิ่มเป็น 36 คณะ เพิ่มคณะกรรมาธิการผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเดิมเคยรวมอยู่ในคณะกรรมาธิการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำหน้าที่คุ้มครองและสร้างความเท่าเทียมทางเพศ

ไม่ผ่าน
เห็นด้วย 101
ไม่เห็นด้วย 365
งดออกเสียง 13
ไม่ลงคะแนน 0
22.8.2019
<12345678910111213141516171819202122232425262728293031323334>