เว็บไซต์นี้อัพเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อ มีนาคม 2566 สามารถดูเวอร์ชันอัพเดตได้ที่ https://parliamentwatch.wevis.info/
THEY WORK FOR US

บันทึกการประชุมและการลงมติ

นับตั้งแต่เปิดประชุมสภาหลังการเลือกตั้ง มีการประชุมสภามาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ละครั้งก็มีหลายวาระ และใช้ระยะเวลาในการประชุมยาวนาน จนบางทีเราก็ตามไม่ทันว่ามีการลงมติครั้งสำคัญเกิดขึ้นในการประชุมครั้งไหนในสภาบ้าง? ใครยกมือสนับสนุนหรือคัดค้านมติไหน? เราจึงรวบรวบการลงมติครั้งสำคัญมาให้ พร้อมอธิบายสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ว่าสิ่งที่ผู้แทนแต่ละคนสนับสนุนหรือคัดค้านคืออะไร

สรุปผลการลงมติล่าสุด

54% เห็นด้วย

แก้ รธน. ปิดสวิตช์ ส.ว. ฉบับประชาชน (No 272) (วาระ 1)

ร่างแก้รัฐธรรมนูญ (เพื่อไทย) เป็นการเสนอเพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชนในด้านสิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิสาธารณสุข และสิทธิคนไร้บ้าน โดยกำหนดให้คุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนตามตามพันธกรณีและกติการะหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี คุ้มครองสิทธิในการประกันตัวผู้ต้องหา ห้ามคุมขังระหว่างการพิจารณาเกินหนึ่งปี และเพิ่มสิทธิเรื่องการพิจารณาคดีอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม หลักประกันการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย รวมถึงคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก ห้ามกฎหมายจำกัดเสรีภาพจะจำกัดการติชมด้วยความเป็นธรรม และยังคุ้มครองสิทธิที่จะได้รับบริการสาธารณสุขอย่างเสมอภาคกัน

ไม่ผ่าน
เห็นด้วย 356
ไม่เห็นด้วย 253
งดออกเสียง 53
ไม่ลงคะแนน 0
7.9.2022

0% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (แก้ใหม่)

ร่าง พ.ร.บ. เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เป็นการแก้ไข พ.ร.บ.เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า พ.ศ.2484 ยกเลิกการสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า และ นายกฯ นำร่าง พ.ร.บ.เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ร่างพ.ร.บ.เครื่องราชฯ) ที่ ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อ 31 มกราคม 2565 แต่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงพระปรมาภิไธยภายใน 90 วัน และไม่ได้พระราชทานร่างกฎหมายคืนกลับมา ซึ่งรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 มาตรา 146 กำหนดให้รัฐสภาจะต้องนำร่างพระราชบัญญัตินั้นมา "ปรึกษา" ใหม่ เพื่อหาทางว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อ หากรัฐสภาประสงค์จะยืนยันตามที่ลงมติเดม ต้องใช้มติไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกสองสภา (ส.ส. + ส.ว.) ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ แต่ถ้าเสียงยืนยันไม่ถึงสองในสาม ร่างพ.ร.บ.เครื่องราชฯ ก็จะเป็นอันตกไป

ไม่ผ่าน
เห็นด้วย 1
ไม่เห็นด้วย 431
งดออกเสียง 28
ไม่ลงคะแนน 1
7.9.2022

58% เห็นด้วย

แก้ รธน. สิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี (เพื่อไทย) (วาระ 1)

ร่างแก้รัฐธรรมนูญ (เพื่อไทย) เสนอแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 43 โดยเพิ่มเรื่องสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตนและชุมชน รวมถึงกำหนดให้การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะต้องมีการจัดทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) และการจัดรับฟังความคิดเห็นก่อน

ไม่ผ่าน
เห็นด้วย 382
ไม่เห็นด้วย 252
งดออกเสียง 28
ไม่ลงคะแนน 0
7.9.2022

52% เห็นด้วย

แก้ รธน. เพิ่มสิทธิพื้นฐาน (เพื่อไทย) (วาระ 1)

ร่างแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อไทยฉบับที่ 2 เป็นการแก้ไขในประเด็นสิทธิเสรีภาพของประชาชน ได้แก่ 1) เพิ่มเติมมาตรา 25 ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพ เขียนเพิ่มวรรคห้า ว่า "สิทธิหรือเสรีภาพตามมาตรานี้ให้หมายความรวมถึงสิทธิหรือเสรีภาพตามพันธกรณีและกติการะหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย" 2) เพิ่มเติมมาตรา 29 เรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยเอาสิทธิได้รับการพิจารณาประกันตัว "อย่างรวดเร็ว" กลับมา ซึ่งเคยมีอยู่แต่ฉบับ 2560 ตัดออก เพิ่มหลักการว่า การไม่ให้ประกันตัวต้องเป็นกรณีเชื่อว่าจะหลบหนีเท่านั้น และจำเลยจะถูกคุมขังระหว่างพิจารณานานกว่าหนึ่งปีไม่ได้ 3) เพิ่มมาตรา 29/1 เอาสิทธิในกระบวนการยุติธรรมกลับมา ซึ่งเขียนคล้ายกับฉบับปี 2550 สิทธิเหล่านี้เคยเขียนไว้ชัดเจนในฉบับปี 2550 แต่ถูกตัดออกไปในฉบับปี 2560 4) เพิ่มเติมมาตรา 34 เรื่องเสรีภาพในการแสดงความเห็นว่า การออกกฎหมายจำกัดเสรีภาพจะจำกัดการติชมด้วยความเป็นธรรมไม่ได้ 5) แก้ไขมาตรา 45 เรื่องสิทธิจัดตั้งพรรคการเมือง โดยผ่อนปรนเงื่อนไขให้ยืดหยุ่นขึ้น โดยเขียนด้วยว่า การจัดตั้งพรรคการเมืองจะต้องไม่มีขึ้นตอนและความยุ่งยากเกินควร ส่วนการยุบพรรคการเมืองจะทำได้เฉพาะกรณีที่ปรากฏพยานหลักฐานที่ชัดเจนว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6) แก้ไขมาตรา 47 เรื่องสิทธิทางสาธารณสุข ว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐานและได้รับหลักประกันสุขภาพโดยถ้วนหน้า" เพิ่มคำว่า "สิทธิเสมอกัน" จากที่ฉบับปี 2560 เขียนเพียงว่ามีสิทธิ และยืนยันเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไว้ในรัฐธรรมนูญ หลังจากที่มีกระแสว่า ระบบหลักประกันสุขภาพอาถูกตัดทอนหรือยกเลิกภายใต้รัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 7) เพิ่มมาตรา 49/1 เป็นบทต่อต้านการรัฐประหาร ห้ามศาลและหน่วยงานรัฐยอมรับการรัฐประหาร ให้ความผิดฐานทำรัฐประหารไม่มีอายุความ ห้ามการนิรโทษกรรมคณะรัฐประหาร กำหนดสิทธิของประชาชนที่จะต่อต้านการรัฐประหารโดยสันติวิธี 8) แก้ไขมาตรา 129 วรรคสี่ ให้กรรมาธิการ ส.ส. มีอำนาจเรียกเอกสารและเรียกบุคคลมาให้ข้อเท็จจริง และให้คำสั่งเรียกมีผลทางกฎหมาย การเสนอแก้ไขมาตรานี้สืบเนื่องจาก ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ว่า การกำหนดโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการ ขัดหรือแยังต่อรัฐธรมนูญ

ไม่ผ่าน
เห็นด้วย 346
ไม่เห็นด้วย 299
งดออกเสียง 17
ไม่ลงคะแนน 0
7.9.2022

52% เห็นด้วย

แก้ รธน. นายกต้องเป็น ส.ส. (เพื่อไทย) (วาระ 1)

ร่างแก้รัฐธรรมนูญ (เพื่อไทย) เสนอให้แก้ไขมาตรา 159 ว่าด้วยที่มานายกรัฐมนตรี โดยเพิ่มเงื่อนไขให้นายกรัฐมนตรีมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และยกเลิกอำนาจของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาและคัดเลือกโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติในการร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี

ไม่ผ่าน
เห็นด้วย 346
ไม่เห็นด้วย 292
งดออกเสียง 24
ไม่ลงคะแนน 0
7.9.2022

98% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. ล้มละลาย (วาระ 1)

ร่าง พ.ร.บ. ล้มละลาย เป็นแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งคุ้มครองเจ้าหนี้และบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยลูกหนี้ที่มีลักษณะเป็นกิจการขนาดย่อมสามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้ และมีกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน รวมถึงให้อำนาจเจ้าพนักงงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เพื่อให้กระบวนการฟื้นฟูกิจการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ผ่าน
เห็นด้วย 297
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 2
ไม่ลงคะแนน 4
24.8.2022
<12345678910111213141516171819202122232425262728293031323334>