98% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ (วาระ 1)
ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มีสาระสำคัญ คือ การจัดตั้งศาลแรงงานเป็นศาลชำนัญพิเศษ โดยมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน ซึ่งในการพิจารณาคดีจะประกอบด้วยผู้พิพากษา 3 ฝ่าย คือ ผู้พิพากษาโดยอาชีพ (ข้าราชการตุลาการ) ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง จำนวนฝ่ายละเท่าๆกัน ร่วมเป็นองค์คณะการพิจารณาพิพากษาคดี โดยกฎหมายฉบับนี้เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบให้สอดคล้องกับ มาตรา 190 รัฐธรรมนูญฯ 2560 และกำหนดให้การพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ยกเลิกมาตรา 15 วรรคสองและเพิ่มมาตรา 15/1)
99% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ (วาระ 1)
ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มีสาระสำคัญคือ ให้ตั้งศาลแรงงานเป็นศาลชำนัญพิเศษ โดยมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน ซึ่งในการพิจารณาคดีจะประกอบด้วยผู้พิพากษา 3 ฝ่าย คือ ผู้พิพากษาโดยอาชีพ (ข้าราชการตุลาการ) ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง จำนวนฝ่ายละเท่าๆกัน ร่วมเป็นองค์คณะการพิจารณาพิพากษาคดี โดยกฎหมายฉบับนี้เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ ์การพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบให้สอดคล้องกับ มาตรา 190 รัฐธรรมนูญฯ 2560 และกำหนดให้การพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ยกเลิกมาตรา 15 วรรคสองและเพิ่มมาตรา 15/1)
99% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น (วาระ 1)
"ตามที่มีการประกาศใช้ พรบ.ยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น พ.ศ.2554 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560 ไปแล้ว แต่ปัจจุบันปรากว่ายังมีกฎหมายบางฉบับที่ไม่มีความจำเป็นและไม่มีการบังคับใช้อยู่ หรือมีความซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นที่ตราขึ้นในภายหลัง เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงสมควรยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นเป็นการเพิ่มเติม จำนวน 7 ฉบับ ได้แก่ 1. พ.ร.บ.จัดการฝึกและอบรมเด็กบางจำพวก พุทธศักราช 2479
2. พ.ร.ก.ควบคุมและดำเนินงานการธุระการทำเหมืองแร่ทองคำ พุทธศักราช 2483
3. พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการไฟฟ้า พุทธศักราช 2484
4. พ.ร.บ.กำหนดวิธีปฏิบัติแก่บุคคลซึ่งเผยแพร่ข่าวอันเป็นการทำให้เสียสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่มีสนธิสัญญาทางไมตรีกับประเทศไทยในภาวะสงคราม พุทธศักราช 2488
5. พ.ร.บ.กำหนดวิธีการระงับการค้ากำไรเกินสมควรจากราชการ พ.ศ. 2491
6. พ.ร.บ.จัดการฝึกและอบรมเด็กบางจำพวก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2501
7. พ.ร.บ.การผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. 2548"
98% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบศาลยุติธรรมฯ (วาระ 1)
เนื่องจากรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 บัญญัติหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาหรือตุลาการ และการให้พ้นจากตำแหน่งไว้ว่า "พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและให้ผู้พิพากษาและตุลาการพ้นจากตำแหน่ง แต่ในกรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย เกษียณอายุตามวาระหรือพ้นจากราชการเพราะถูกลงโทษให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบฎ และไม่ได้บัญญัติให้วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้พิพากษาออกจากตำแหน่งตามที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ 2550 ทำให้บทบัญญัติของ พรบ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 ในส่วนที่เกี่ยวข้องไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฯ 2560 จึงต้องแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง การำนความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ และยกเลิกเหตุแห่งการพ้นจากตำแหน่งกรณีวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนข้าราชการตุลาการออกจากตำแหน่ง (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 32)
0% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ.แก้ไข ป.อาญา (แก้ไขเกณฑ์อายุเด็กในกรณีที่เด็กกระทำความผิดอาญา) (วาระ 3)
"ร่าง พ.ร.บ.แก้ไข ป.อาญา (แก้ไขเกณฑ์อายุเด็กในกรณีที่เด็กกระทำความผิดอาญา) มีสาระสำคัญ คือ กำหนดให้ เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี ที่กระทำการอันกฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นความผิด ไม่ต้องรับโทษ จากเดิมที่กำหนดเกณฑ์อายุไว้ที่ไม่เกิน 10 ปี
นอกจากนี้ ยังได้แก้ไขเกณฑ์อายุของเด็กที่ใช้มาตรการอื่นแทนการรับโทษทางอาญาโดยเปลี่ยนเป็นเด็กอายุเกิน 12 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี ถ้ากระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด ไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอำนาจใช้มาตรการอื่นแทน เช่น ว่ากล่าวตักเตือน คุมประพฤติ หรือให้บุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควรเพื่อดูแล อบรม และสั่งสอน หรือส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียน หรือสถานฝึกและอบรม"
0% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ. สัตวบาลฯ (วาระ 3)
ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพการสัตวบาล เป็นการกำหนดให้มีสภาการสัตวบาลเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการรับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพสัตวบาล และมีอำน าจในการกำหนดมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพให้เป็นไปตามจรรยาบรรณ รวมถึงการส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการประกอบวิชาชีพ โดยมีคณะกรรมการสภาการสัตวบาลทำหน้าที่กำกับดูแล เช่น แต่งตั้งอนุกรรมการจรรยาบรรณ คณะกรรมการสอบสวน หรือ คณะกรรมการด้านอื่นๆ เป็นต้น