92% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ.พืชกระท่อม (วาระ 1)
หลัง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) ปี 2564 มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 ทำให้พืชกระท่อมถูกถอดออกจากยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 โดยให้การเพาะปลูก การบริโภค การจำหน่าย สามารถกระทำได้ไม่ผิดกฎหมาย แต่เพื่อการกำกับดูแลสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และเพื่อไม่ให้มีการบริโภคมากเกินไปอาจจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายเฉพาะอย่างร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม (ร่างพ.ร.บ.พืชกระท่อม) ขึ้นมา
98% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ. ห้างหุ้นส่วนฯ (วาระ 1)
ร่าง พ.ร.บ. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ เป็นแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 เพื่อให้การกำหนดความผิดและบทกำหนดโทษสอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติลักษณะ 22 หุ้นส่วนบริษัท ของบรรพ 3 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในส่วนของการจ่ายเงินปันผลและการควบบริษัทจำกัดเข้ากัน
47% เห็นด้วย
แก้ รธน. พรรคพลังประชารัฐ สิทธิเสรีภาพ / บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ / ตัดบทลงโทษ ส.ส.ดูเรื่องงบ / ตัดข้อห้าม ส.ส.เกี่ยวข้องราชการ / ให้ ส.ส. ร่วมติดตามปฏิรูปประเทศกับ ส.ว. (โหวต 13 ฉบับ) (วาระ 1)
ร่างที่เสนอโดยพรรคพลังประชารัฐ พรรคเดียว เสนอหลายประเด็นรวมกัน ดังนี้ 1) เพิ่มมาตรา 29 เอาสิทธิในกระบวนการยุติธรรมกลับมา ซึ่งเขียนคล้ายกับฉบับปี 2550 สิทธิเหล่านี้เคยเขียนไว้ชัดเจนในฉบับปี 2550 แต่ถูกตัดออกไปในฉบับปี 2560 2) แก้ไขมาตรา 41(3) ในประเด็นสิทธิของชุมชน เพิ่มเติมให้ชุมชนยังมีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเหมาะสมจากรัฐในกรณีที่ฟ้องหน่วยงานของรัฐ 3) แก้ไขมาตรา 45 เลิกบังคับพรรคการเมืองทำ Primary Vote 4) เสนอให้นำระบบเลือกตั้ง "บัตรสองใบ" แบบรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กลับมาใช้ แต่มีรายละเอียดต่างไป เช่น กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของพรรคที่ได้ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ไว้ที่ 1% 5) แก้ไขมาตรา 144 ลดความเข้มงวดเรื่องทุจริต ยกเลิกการกำหนดโทษ ส.ส. หรือ ส.ว. หรือคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ แปรญญัติให้ตัวเองมีส่วนใช้งบประมาณ 6) แก้ไขมาตรา 185 ลดความเข้มงวดเรื่องทุจริต ยกเลิกการห้าม ส.ส. หรือ ส.ว. ก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ 7) แก้ไขมาตรา 270 ให้อำนาจกำกับการปฏิรูปประเทศ และดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ จากเดิมที่เป็นของ ส.ว. ฝ่ายเดียว ให้เป็นอำนาจของ ส.ส. ร่วมด้วย
57% เห็นด้วย
แก้ รธน. พรรคเพื่อไทย ฉบับที่ 1 เพิ่มสิทธิเสรีภาพของประชาชน (โหวต 13 ฉบับ) (วาระ 1)
ร่างที่นำเสนอโดยพรรคเพื่อไทย ฉบับที่ 1 ประเด็นสิทธิเสรีภาพของประชาชน 1) เพิ่มเติมมาตรา 25 ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพ เขียนเพิ่มวรรคห้า ว่า "สิทธิหรือเสรีภาพตามมาตรานี้ให้หมายความรวมถึงสิทธิหรือเสรีภาพตามพันธกรณีและกติการะหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย" 2) เพิ่มเติมมาตรา 29 เรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยเอาสิทธิได้รับการพิจารณาประกันตัว "อย่างรวดเร็ว" กลับมา ซึ่งเคยมีอยู่แต่ฉบับ 2560 ตัดออก เพิ่มหลักการว่า การไม่ให้ประกันตัวต้องเป็นกรณีเชื่อว่าจะหลบหนีเท่านั้น และจำเลยจะถูกคุมขังระหว่างพิจารณานานกว่าหนึ่งปีไม่ได้ 3) เพิ่มมาตรา 29/1 เอาสิทธิในกระบวนการยุติธรรมกลับมา ซึ่งเขียนคล้ายกับฉบับปี 2550 สิทธิเหล่านี้เคยเขียนไว้ชัดเจนในฉบับปี 2550 แต่ถูกตัดออกไปในฉบับปี 2560 4) เพิ่มเติมมาตรา 34 เรื่องเสรีภาพในการแสดงความเห็นว่า การออกกฎหมายจำกัดเสรีภาพจะจำกัดการติชมด้วยความเป็นธรรมไม่ได้ 5) แก้ไขมาตรา 45 เรื่องสิทธิจัดตั้งพรรคการเมือง โดยผ่อนปรนเงื่อนไขให้ยืดหยุ่นขึ้น โดยเขียนด้วยว่า การจัดตั้งพรรคการเมืองจะต้องไม่มีขึ้นตอนและความยุ่งยากเกินควร ส่วนการยุบพรรคการเมืองจะทำได้เฉพาะกรณีที่ปรากฏพยานหลักฐานที่ชัดเจนว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6) แก้ไขมาตรา 47 เรื่องสิทธิทางสาธารณสุข ว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐานและได้รับหลักประกันสุขภาพโดยถ้วนหน้า" เพิ่มคำว่า "สิทธิเสมอกัน" จากที่ฉบับปี 2560 เขียนเพียงว่ามีสิทธิ และยืนยันเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไว้ในรัฐธรรมนูญ หลังจากที่มีกระแสว่า ระบบหลักประกันสุขภาพอาถูกตัดทอนหรือยกเลิกภายใต้รัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 7) เพิ่มมาตรา 49/1 เป็นบทต่อต้านการรัฐประหาร ห้ามศาลและหน่วยงานรัฐยอมรับการรัฐประหาร ให้ความผิดฐานทำรัฐประหารไม่มีอายุความ ห้ามการนิรโทษกรรมคณะรัฐประหาร กำหนดสิทธิของประชาชนที่จะต่อต้านการรัฐประหารโดยสันติวิธี 8) แก้ไขมาตรา 129 วรรคสี่ ให้กรรมาธิการ ส.ส. มีอำนาจเรียกเอกสารและเรียกบุคคลมาให้ข้อเท็จจริง และให้คำสั่งเรียกมีผลทางกฎหมาย การเสนอแก้ไขมาตรานี้สืบเนื่องจาก ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ว่า การกำหนดโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการ ขัดหรือแยังต่อรัฐธรมนูญ