58% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ. โอนงบประมาณรายจ่าย (วาระ 3)
ร่าง พ.ร.บ. โอนงบประมาณรายจ่าย กำหนดให้โอนเงินงบประมาณคงเหลือจากปีงบประมาณปี 2562 จำนวน 88,452 ล้านบาท ไปตั้งเป็น งบประมาณสำหรับ 'งบกลาง' เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และห้าอันดับแรกของหน่วยงานที่โอนงบเข้างบกลางมากที่สุด ได้แก่ 1.กระทรวงกลาโหม จำนวน 17,700 ล้านบาท 2. กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 4,746 ล้านบาท 3. กระทรวงคมนาคม จำนวน 3,427 ล้านบาท 4. กระทรวงมหาดไทย จำนวน 2,057 ล้านบาท 5. กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 1,356 ล้านบาท
98% เห็นด้วย
ขอขยายเวลาการทำงานของ กมธ.ติดตามการปฏิรูปประเทศฯ
ญัตติขอขยายเวลาการทำงานของคณะกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ หรือ กมธ.ติดตามการปฏิรูปประเทศฯ คือ การขอให้งดใช้ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 ข้อ 175 วรรคสอง (3) ที่กำหนดหน้าที่ให้ กมธ.ติดตามการปฏิรูปประเทศฯ รวบรวมและจัดทำสรุปผลการศึกษาวิเคราะห์รายงานการสรุปผลการดำเนินการประจำปีตามแผนปฏิรูปประเทศและตามยุทธศาสตร์ชาติเพื่อเสนอต่อที่ประชุมวุฒิสภาภายใน 30 วัน นับแต่วันที่วุฒิสภาได้รับรายการมา
59% เห็นด้วย
อนุมัติ พ.ร.ก. การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
พ.ร.ก. การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กำหนดให้การประชุม ามบทบัญญัติของกฎหมายหรือการประชุมที่ต้องการให้มีผลตามกฎหมายสามารถดำเนินการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ แต่ก็ยังยกเว้นการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา การประชุมเพื่อจัดทำคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล การประชุมเพื่อดำเนินกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างบางกรณี การประชุมอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจุบันยังไม่มีกฎกระทรวงบังคับใช้)
57% เห็นด้วย
อนุมัติ พ.ร.ก. ช่วยเหลือ SME จากโควิด-19
ร่าง พ.ร.ก.ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการตรากฎหมาย โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำเงินไปใช้แก้ปัญหาในภาคธุรกิจและการเงินในสองรูปแบบ คือ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) วงเงิน 500,000 ล้านบาท และ ให้ซื้อตราสารหนี้เอกชน อันเป็นการสนับสนุนสภาพคล่องเพื่อดูแลเสถียรภาพตลาดตราสารหนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขาดสภาพคล่องทางธุรกิจ วงเงิน 400,000 ล้านบาท
15% เห็นด้วย
อภิปรายไม่ไว้วางใจ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ก.พ. 63)
การอภิปรายทั ่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งแรกของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 โดยมีผู้ถูกอภิปราย 6 คน ได้แก่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยรัฐมนตรีทุกคนได้รับคะแนนเสียงไว้วางใจจากสภาเท่ากัน ยกเว้น ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ที่ถูกอภิปรายอย่างหนักจากคดีความเกี่ยวกับยาเสพติดในอดีต
15% เห็นด้วย
อภิปรายไม่ไว้วางใจ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (ก.พ. 63)
การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งแรกของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 โดยมีผู้ถูกอภิปราย 6 คน ได ้แก่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยรัฐมนตรีทุกคนได้รับคะแนนเสียงไว้วางใจจากสภาเท่ากัน ยกเว้น ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ที่ถูกอภิปรายอย่างหนักจากคดีความเกี่ยวกับยาเสพติดในอดีต