0% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ. ธรรมนูญศาลทหาร (ส่งไป ครม.)
ร่า ง พ.ร.บ. ธรรมนูญศาลทหาร เป็นการเสนอแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 เนื่องจากกฎหมายธรรมนูญศาลทหารกำหนดให้คดีที่บุคคลที่อยู่ในการอำนาจศาลทหารเป็นผู้กระทำความผิดอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหาร โดยไม่คำนึงว่าผู้เสียหายจะอยู่ในอำนาจศาลทหารหรือไม่ ทำให้ผู้เสียหายที่เป็นบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจศาลทหารเสียสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่จะเป็นโจทก์ฟ้องคดีด้วยตนเอง
98% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด (วาระ 3)
พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 ตามที่ มาตรา 77 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 บัญญัติให้ปรับปรุงกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์หรือที่เป็นอุปสรรค ประกอบกับ พ.ร.บ.ฉบับปี 2535 ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ยังไม่รองรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของเทคโนโลยี จึงแก้ไขเพิ่มเติม โดยกำหนดใหเบริษัทมหาชนจำกัด สามารถใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในการประชุมคณะกรรมการและการประชุมผู้ถือหุ้น การจัดส่งหนังสือ หรือเอกสาร การมอบฉันทะในการประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นการลดภาระและอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการของบริษัทมหาชนจำกัดและประชาชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
99% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ. กยศ. (วาระ 1)
มองว่าการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาเป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษาอันเป็นรากฐานสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและ สังคมในภาพรวม แต่บทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่อำนวยในปัญหานี้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
99% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น (วาระ 3)
ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกกฎหมายบางฉบับที่หมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น มีสาระสำคัญ คือ การยกเลิกกฎหมายที่ไม่มีความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นจำนวน 7 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.จัดการฝึกและอบรมเด็กบางจำพวก พ.ศ.2479 พ.ร.บ.จัดการฝึกและอบรมเด็กบางจำพวก (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2501 พ.ร.ก.ควบคุมและดำเนินงานการธุระการทำเหมืองแร่ทองคำ พ.ศ.2483 พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการไฟฟ้า พ.ศ.2484 พ.ร.บ.กำหนดวิธีปฏิบัติแก่บุคคลซึ่งเผยแพร่ข่าวอันเป็นการทำให้เสียสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่มีสนธิสัญญาทางไมตรีกับประเทศไทยในภาวะสงคราม พ.ศ.2488 พ.ร.บ.กำหนดวิธีการระงับการค้ากำไรเกินสมค วรจากราชการ พ.ศ.2491 พ.ร.บ.การผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ.2548
67% เห็นด้วย
อนุมัติ พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร
พิกัดศุลกากร เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายทางกาค้า จัดเก็บภาษีอากร ควบคุมสินค้าต้องห้าม ติดตามสินค้าควบคุม รวมถึงควบคุมปริมาณการนำเข้า โดยรัฐบาลได้ออก พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากรฯ เพื่อจัดทำพิกัดศุลกากรใหม่ตามหลักเกณฑ์ขององค์การศุลกากรโลก ซึ่งจะมีการแก้ไขรายการสินค้นกว่า 351 รายการ เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยนิโคติน ชุดตรวจสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติิการ เครื่องพิมพ์สามมิติ เศษและของที่ใช้ไม่ได้ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อากาศยานไร้คนขับ
99% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ.เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (วาระ 3)
ร่าง พ.ร.บ.เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า พ.ศ.2484 โดยเสนอให้ยกเลิก มาตรา 9 และมาตรา 10 ซึ่งวางหลักการสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไว้ โดยมีหลักสำคัญว่า กรณีที่ผู้ชายได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นที่สอง คือ ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) ขึ้นไป เมื่อผู้ได้รับพระราชทานเสียชีวิตลง บุตรชายคนโตสามารถเลื่อนขึ้นมารับสืบตระกูลเครื่องราชได้โดยอัตโนมัติ