99% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ (วาระ 3)
ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มีสาระสำคัญคือ ให้ตั้งศาลแรงงานเป็นศาลชำนัญพิเศษ โดยมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน ซึ่งในการพิจารณาคดีจะประกอบด้วยผู้พิพากษา 3 ฝ่าย คือ ผู้พิพากษาโดยอาชีพ (ข้าราชการตุลาการ) ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง จำนวนฝ่ายละเท่าๆกัน ร่วมเป็นองค์คณะการพิจารณาพิพากษาคดี โดยกฎหมายฉบับนี้เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบให้สอดคล้องกับ มาตรา 190 รัฐธรรมนูญฯ 2560 และกำหนดให้การพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ยกเลิกมาตรา 15 วรรคสองและเพิ่มมาตรา 15/1)
99% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบศาลยุติธรรมฯ (วาระ 3)
เนื่องจากรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 บัญญัติหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาหรือตุลาการ และการให้พ้นจากตำแหน่งไว้ว่า "พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและให้ผู้พิพากษาและตุลาการพ้นจากตำแหน่ง แต่ในกรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย เกษียณอายุตามวาระหรือพ้นจากราชการเพราะถูกลงโทษให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบฎ และไม่ได้บัญญัติให้วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้พิพากษาออกจากตำแหน่งตามที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฯ 2550 ทำให้บทบัญญัติของ พรบ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 ในส่วนที่เกี่ยวข้องไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฯ 2560 จึงต้องแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง การำนความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ และยกเลิกเหตุแห่งการพ้นจากตำแหน่งกรณีวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนข้าราชการตุลาการออกจากตำแหน่ง (แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 32)
99% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ (วาระ 3)
ร่าง พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว สืบเนื่องมาจากเมื่อปี 2534 มีการตรา พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 และต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลักการสำคัญ เช่น การยึดประโยชน์สูงสุดของเด็ก การปฏิบัติต่อเด็กด้วยมนุษยธรรมและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเด็กและเยาวชน การตรวจสอบการจับกุม การใช้มาตรการแทนการดำเนินคดีอาญา มาตรการแทนการพิพากษาคดีและการพิจารณาพิพากาคดีคุ้มครองสวัสดิภาพของบุคคลในครอบครัวที่ถูกกระทำรุนแรงในครอบ โดยการตรา พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นศาลที่มีวิธีพิจารณาคดีพิเศษแตกต่างจากศาลยุติธรรมทั่วไป กล่าวคือ เป็นศาลชำนัญพิเศษ โดยคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลคือ คดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด และในการพิจารณาพิพากษาคดี จะมีผู้พิพากษา 2 ประเภท คือ ผู้พิพากษาโดยอาชีพ (ข้าราชการตุลาการ) และผู้พิพากษาสมทบ (ผู้พิพากษาสมทบคือ บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษ ให้เป็นองค์คณะร่วมกับผู้พิพากษาซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการในการพิจารณาคดี) ซึ่งองค์คณะในการพิจารณาคดี ประกอบด้วยผู้พิพากษาไม่น้อยกว่า 2 คน และผู้พิพากษาสมทบอีก 2 คน ซึ่งผู้พิพากษาสมทบอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรี ร่างฉบับนี้เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบตรัวให้สอดคล้องกับมาตรา 190 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560
100% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ. ปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ (วาระ 1)
พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ กฎหมายกลางในการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อต้องการส่งเสริมให้รูปแบบการทำงานและการให้บริการของภาครัฐปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิทัล โดยสอดคล้องกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน เป็นการอำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการติดต่อราชการ การขออนุมัติ การอนุญาต ขึ้นทะเบียน จดทะเบียน การแจ้งเพื่อประกอบกิจการของประชาชน การรับเงิน และการออกใบเสร็จรับเงินของหน่วยงาน รวมทั้งลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพแก่การปฏิบัติราชการของภาครัฐในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างคล่องตัว รวดเร็ว และลดปัญหาการทุจริต
41% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ. ปลดอาวุธ คสช. (ฉบับประชาชน)
หลังจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 คสช. โดยพลเอกประยุทธ์ ได้อ้างใช้อำนาจพิเศษจากมาตรา 44 แม้จะหมดสถานะคำสั่ง ประกาศต่างๆยังได้รับรองโดยมาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560 ให้มีผลบังคับใช้ต่อไป จนกว่าจะมีการยกเลิกหรือแก้ไข และหลายฉบับมีเนื้อหาจำกัดสิทธิประชาชน กระทบสิทธิในกระบวนการยุติธรรม จำกัดเสรีภาพสื่อมวลชน ละเมิดสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม
40% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ. ปลดอาวุธ คสช.
คล้ายกับร่างของประชาชน โดยส.ส. พรรคอนาคตใหม่เสนอ โดยมองว่าหลังจากการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 คสช. โดยพลเอกประยุทธ์ ได้อ้างใช้อำนาจพิเศษจากมาตรา 44 แม้จะหมดสถานะคำสั่ง ประกาศต่างๆยังได้รับรองโดยมาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560 ให้มีผลบังคับใช้ต่อไป จนกว่าจะมีการยกเลิกหรือแก้ไข และหลายฉบับมีเนื้อหาจำกัดสิทธิประชาชน