84% เห็นด้วย
อนุมัติ พ.ร.ก. โอนกำลังพลฯ
ร่าง พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณฯ เป็นการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีในการตรากฎหมาย โดยสาระสำคัญ คือ ให้กำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์
ก่อนการอนุมัติ พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว มีการตั้งคำถามโดย ปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ว่า เป็นการตรา พ.ร.ก.ที่เป็นไปตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากเห็นว่า ไม่ใช่กรณีจำเป็นเร่งด่วน และสมควรที่รัฐบาลจะเสนอเป็นพระราชบัญญัติให้สภาเป็นผู้พิจารณาในรายละเอียดก่อนบังคับใช้เป็นกฎหมาย
52% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณฯ 2563 (วาระ 1)
ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณฯ 2563 มีการตั้งวงเงินงบประมาณไว้ที่ 3.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 2 แสนล้านบาท โดยห้ากระทรวงที่ได้รับการจัดสรรงบมากที่สุด คือ กระทรวงศึกษาธิการ มีงบประมาณ กว่า 3.6 แสนล้านบาท ถัดมา คือ กระทรวงมหาดไทย งบประมาณกว่า 3.5 แสนล้านบาท ถัดมาเป็นกระทรวงกลาโหม มีงบประมาณที่ต้องบริหารกว่า 2.3 แสนล้านบาท และกระทรวงคมนาคม มีงบประมาณทั้งสิ้น กว่า 1.78 แสนล้านบาท สุดท้ายคือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ งบประมาณ กว่า 1.09 แสนล้านบาท
100% เห็นด้วย
ตั้ง กมธ.ศึกษาปัญหาสารเคมีเกษตรฯ
ญัตติตั้ง กมธ.ศึกษาปัญหาสารเคมีเกษตรฯ สืบเนื่องมาจากปัญหาการใช้สารเคมีในภาคการเกษตร เช่น พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ซึ่งมีรายงานการศึกษาว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนไทยจึงเสนอให้ตั้งคณะกรรมธิการวิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีดังกล่าว
โดยสภามีมติเห็นชอบกับญัตติดังกล่าวและมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 44 คน ประกอบไปด้วยสัดส่วนจากพรรคการเมืองฝ่ายค้านและรัฐบาลรวมกัน จำนวน 39 คน และสัดส่วนจากคณะรัฐมนตรี จำนวน 5 คน และมีระยะเวลาพิจารณาศึกษาเป็นเวลา 60 วัน
90% เห็นด้วย
เห็นชอบรายงานขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้าบีทีเอส
ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอตามรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญ ที่เห็นควรให้ขยายสัมปทานทางด่วน เพื่อยุติข้อพิพาทระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้าจำกัด (มหาชน) (BEM) และไม่ขยายสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวข องบีทีเอส ที่จะสิ้นสุดในปี 2572 ซึ่งเมื่อผ่านการลงมติจากสภาผู้แทนราษฎรแล้วก็จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้นำไปปฏิบัติต่อไป
98% เห็นด้วย
เลือก กมธ. ตรวจสอบประวัติตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฯ
การเลือก กมธ. ตรวจสอบประวัติตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฯ เป็นขั้นตอนก่อนที่วุฒิสภาจะพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าวมีหน้าที่ตรวจสอบประวัติความประพฤติและพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อโดยคณะกรรมการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 5 รายชื่อ ได้แก่ วิรุฬห์ แสงเทียน ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา, จิรนิติ หะวานนท์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา, อุดม สิทธิวิรัชธรรม ประธานแผนกคดีฯ ในศาลฎีกา, ชั่งทอง โอภาสศิริวิทย์ ตุลาการศาลปกครองสูงสุด และ นภดล เทพพิทักษ์ อดีตอธิบดีกรมเอเชียใต้ฯ
21% เห็นด้วย
ตั้ง กมธ. ผู้มีความหลากหลายทางเพศ
การตั้ง กมธ. ผู้มีความหลากหลายทางเพศ เป็นการแปรญัตติร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แ ทนราษฎร ข้อที่ 90 ของ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ และ ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ เนื่องจากเดิมร่างข้อบังคับกำหนดให้มีคณะกรรมาธิการสามัญ ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย กระทำกิจการ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา จำนวนทั้งสิ้น 35 คณะ แต่มีการเสนอใหม่ ให้เพิ่มเป็น 36 คณะ เพิ่มคณะกรรมาธิการผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเดิมเคยรวมอยู่ในคณะกรรมาธิการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำหน้าที่คุ้มครองและสร้างความเท่าเทียมทางเพศ