33% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง (ประชาชาติ) เสนอ (วาระ 1)
ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง (ประชาชาติ) มีสาระสำคัญคือ ให้เก็บค่าธรรมเนียมและบำรุงพรรคเพียงครั้งเดียวในอัตราไม่น้อยกว่า 50 บาท และให้ยกเลิกการเก็บค่าสมาชิกพรรค ยกเลิกเรื่องความผิดฐานให้บุคคลภายนอกควบคุมชี้นำพรรคการเมือง ยกเลิกการตั้งตัวแทนพรรคประจำจังหวัด และการสรรหาผู้สมัคร ส.ส.ผ่านการทำการเลือกตั้งขั้นต้น (ไพรมารีโหวต)
66% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง (พลังประชารัฐ) (วาระ 1)
ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง (พลังประชารัฐ) มีสาระสำคัญคือให้ยกเลิกเรื่องการที่พรรคการเมืองต้องมีทุนประเดิมพรรคไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท และปรับค่าธรรมเนียมและบำรุงพรรคไม่น้อยกว่า 20 บาทต่อปี ส่วนค่าสมาชิกพรรคตลอดชีพให้เก็บขั้นต่ำที่ 200 (จากเดิม 2,000 บาท)
ส่วนการตั้งตัวแทนพรรคประจำจังหวัด กำหนดให้ต้องมีสมาชิกเกิน 100 คน และให้พรรคแต่งตั้งสมาชิกที่อยู่ในจังหวัดเป็นตัวตัวแทนประจำจังหวัด ส่วนการสรรหาผู้สมัคร ส.ส. ให้คณะกรรมการสรรหาเป็นผู้คัดเลือกผู้สมัคร
67% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง (พลังประชารัฐ) (วาระ 1)
ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง (พลังประชารัฐ) มีสาระสำคัญคือปรับค่าธรรมเนียมและบำรุงพรรคไม่น้อยกว่า 20 บาทต่อปี ส่วนค่าสมาชิกพรรคตลอดชีพให้เก็บขั้นต่ำที่ 200 (จากเดิม 2,000 บาท)
ส่วนการตั้งตัวแทนพรรคประจำจังหวัด กำหนดให้ต้องมีสมาชิกเกิน 100 คน และให้พรรคแต่งตั้งสมาชิกที่อยู่ในจังหวัดเ ป็นตัวตัวแทนประจำจังหวัด ส่วนการสรรหาผู้สมัคร ส.ส. ให้คณะกรรมการสรรหาเป็นผู้คัดเลือกผู้สมัคร
96% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ที่ ครม. เป็นผู้เสนอ (วาระ 1)
ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ที่ ครม. เป็นผู้เสนอ มีสาระสำคัญ คือ กำหนดให้ใช้ระบบเลือกตั้งแบบคู่ขนาน (มีบัตรเลือกตั้งสองใบ) และไม่มีการกำหนเกณฑ์ขั้นต่ำ (ทำให้เกิด ส.ส.แบบปัดเศษ)
ส่วนการเลือกตั้ง ส.ส. กำหนดให้ หมายเลขผู้สมัครของ ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ยังเป็นระบบต่างเขตต่างเบอร์ และพรรคที่จะส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อต้องส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตด้วย และการจัดการเลือกตั้งกำหนดให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำหน่วย 9 คน
94% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ที่พรรคพลังประชารัฐเป็นผู้เสนอ (วาระ 1)
ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ที่พรรคพลังประชารัฐเป็นผู้เสนอ มีสาระสำคัญ คือ กำหนดให้ใช้ระบบเลือกตั้งแบบคู่ขนาน (มีบัตรเลือกตั้งสองใบ) แต่การคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อให้คำนวณเฉพาะพรรคที่ได้จำนวน ส.ส. เป็นจำนวนเต็มแล้วเท่านั้น (ไม่มี ส.ส.ปัดเศษ)
ส่วนการเลือกตั้ง ส.ส. กำหนดให้ หมายเลขผู้สมัครของ ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ยังเป็นระบบต่างเขตต่างเบอร์ และพรรคที่จะส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อต้องส่งผู้สมัครแบบแบ่งเขตด้วย และการจัดการเลือกตั้งกำหนดให้มีคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำหน่วย 9 คน
66% เห็นด้วย
ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ที่พรรคก้าวไกลเป็นผู้เสนอ (วาระ 1)
ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ที่พรรคก้าวไกลเป็นผู้เสนอ มีสาระสำคัญ คือ กำหนดให้ใช้ระบบเลือกตั้งแบบคู่ขนาน (มีบัตรเลือกตั้งสองใบ) แต่การคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อให้คำนวณเฉพาะพรรคที่ได้จำนวน ส.ส. เป็นจำนวนเต็มแล้วเท่านั้น (ไม่มี ส.ส.ปัดเศษ)
ส่วนการเลือกตั้ง ส.ส. กำหนดให้ หมายเลขผู้สมัครของ ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ใช้ระบบหมายเลขเดียวกันทั้งประเทศ นอกจากนี้ ยังเพิ่มอำนาจในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งให้ชัดเจนขึ้น เช่น การห้ามขัดขวางการบันทึกหรือเผยแพร่การนับคะแนนของประชาชน การยกเลิกบทบัญญัติที่ให้กกต. กำหนดจำนวนและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ช่วยหาเสียงให้กับผู้สมัคร ส.ส. และการให้ กกต. รายงานผลการเลือกตั้งในรูปอิเล็กทรอนิกส์ด้วย