เว็บไซต์นี้อัพเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อ มีนาคม 2566 สามารถดูเวอร์ชันอัพเดตได้ที่ https://parliamentwatch.wevis.info/
THEY WORK FOR US

บันทึกการประชุมและการลงมติ

นับตั้งแต่เปิดประชุมสภาหลังการเลือกตั้ง มีการประชุมสภามาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่ละครั้งก็มีหลายวาระ และใช้ระยะเวลาในการประชุมยาวนาน จนบางทีเราก็ตามไม่ทันว่ามีการลงมติครั้งสำคัญเกิดขึ้นในการประชุมครั้งไหนในสภาบ้าง? ใครยกมือสนับสนุนหรือคัดค้านมติไหน? เราจึงรวบรวบการลงมติครั้งสำคัญมาให้ พร้อมอธิบายสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ว่าสิ่งที่ผู้แทนแต่ละคนสนับสนุนหรือคัดค้านคืออะไร

สรุปผลการลงมติล่าสุด

99% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. สัตวบาลฯ (วาระ 3)

ร่าง พ.ร.บ.วิชาชีพการสัตวบาล เป็นการกำหนดให้มีสภาการสัตวบาลเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการรับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพสัตวบาล และมีอำนาจในการกำหนดมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพให้เป็นไปตามจรรยาบรรณ รวมถึงการส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการประกอบวิชาชีพ โดยมีคณะกรรมการสภาการสัตวบาลทำหน้าที่กำกับดูแล เช่น แต่งตั้งอนุกรรมการจรรยาบรรณ คณะกรรมการสอบสวน หรือ คณะกรรมการด้านอื่นๆ เป็นต้น

ผ่าน
เห็นด้วย 293
ไม่เห็นด้วย 0
งดออกเสียง 1
ไม่ลงคะแนน 1
22.6.2022

52% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ฉบับก้าวไกล (วาระ 1)

ร่างที่เสนอโดยพรรคก้าวไกลเพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) โดยมุ่งเน้นแก้กฎหมายเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการสมรส เพื่อรับรองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวแก่บุคคลทุกเพศ โดยไม่นำเหตุแห่งเพศสภาพหรือเพศวิถีมาเป็นข้อจำกัดในการจดทะเบียนสมรสเหมือนกฎหมายปัจจุบันที่ยังจำกัดว่า การสมรสจะทำได้เฉพาะกรณีทั้งสองฝ่ายเป็น ‘ชายและหญิง’

ผ่าน
เห็นด้วย 211
ไม่เห็นด้วย 180
งดออกเสียง 12
ไม่ลงคะแนน 4
15.6.2022

57% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. แพ่งและพาณิชย์ ​(คู่ชีวิต) ฉบับ ครม. (วาระ 1)

ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต ฉบับคณะรัฐมนตรี กำหนดให้บุคคลที่มีเพศกำเนิดเดียวกันสามารถจดทะเบียนเป็นคู่ชีวิตได้ตั้งแต่อายุ 17 ปี ขึ้นไป โดยการคู่ชีวิตมีสิทธิในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน รับบุตรบุญธรรมร่วมกัน มีสิทธิรับมรดกแทนคู่ชีวิต มีสิทธิแทนผู้เสียหายในคดีอาญา แต่ไม่มีการระบุเรื่องการใช้นามสกุลของคู่ชีวิต หรือการเว้นภาษีมรดกจากคู่ชีวิต

ผ่าน
เห็นด้วย 230
ไม่เห็นด้วย 169
งดออกเสียง 7
ไม่ลงคะแนน 1
15.6.2022

57% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต ฉบับ ครม. (วาระ 1)

ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต ฉบับคณะรัฐมนตรี กำหนดให้บุคคลที่มีเพศกำเนิดเดียวกันสามารถจดทะเบียนเป็นคู่ชีวิตได้ตั้งแต่อายุ 17 ปี ขึ้นไป โดยการคู่ชีวิตมีสิทธิในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน รับบุตรบุญธรรมร่วมกัน มีสิทธิรับมรดกแทนคู่ชีวิต มีสิทธิแทนผู้เสียหายในคดีอาญา แต่ไม่มีการระบุเรื่องการใช้นามสกุลของคู่ชีวิต หรือการเว้นภาษีมรดกจากคู่ชีวิต

ผ่าน
เห็นด้วย 229
ไม่เห็นด้วย 167
งดออกเสียง 6
ไม่ลงคะแนน 2
15.6.2022

62% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต ฉบับ ประชาธิปัตย์ (วาระ 1)

ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต ฉบับประชาธิปัตย์ กำหนดให้บุคคลที่มีเพศกำเนิดเดียวกันสามารถจดทะเบียนเป็นคู่ชีวิตได้ตั้งแต่อายุ 17 ปี ขึ้นไป โดยการคู่ชีวิตมีสิทธิในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน รับบุตรบุญธรรมร่วมกัน มีสิทธิรับมรดกแทนคู่ชีวิต มีสิทธิแทนผู้เสียหายในคดีอาญา แต่ไม่มีการระบุเรื่องการใช้นามสกุลของคู่ชีวิต หรือการเว้นภาษีมรดกจากคู่ชีวิต

ผ่าน
เห็นด้วย 251
ไม่เห็นด้วย 124
งดออกเสียง 30
ไม่ลงคะแนน 2
15.6.2022

54% เห็นด้วย

ร่าง พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า (วาระ 1)

ร่าง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต หรือ ร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า ได้มีการเสนอแก้ไขในมาตรา 153 โดยแก้ไขข้อความในวรรคหนึ่ง จากที่กำหนดว่า "ผู้ใดประสงค์จะผลิตสุราหรือมีเครื่องกลั่นสําหรับผลิตสุราไว้ในครอบครอง ให้ยื่นคําขออนุญาต" เป็น "ผู้ใดประสงค์จะผลิตสุราเพื่อการค้า ให้ยื่นคำขออนุญาต" ซึ่งการแก้ไขดังกล่าวทำให้ผู้ที่ประสงค์จะผลิตสุราที่ไม่ใช่สำหรับการค้า ทำการต้มสุราเพื่อบริโภคเองในครัวเรือนสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต รวมถึงไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายที่กำหนดให้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกทั้ง ร่าง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต ยังพยายามเปลี่ยนหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบอนุญาตผลิตสุราเพื่อการค้าที่กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอเกี่ยวกับขนาดกำลังการผลิต

ผ่าน
เห็นด้วย 178
ไม่เห็นด้วย 137
งดออกเสียง 15
ไม่ลงคะแนน 0
8.6.2022
<12345678910111213141516171819202122232425262728293031323334>